เซอร์กิตเบรกเกอร์ และมิเตอร์ Circuit Breakers and Watt-Hour Meters |
|
|
เบรกเกอร์ (breaker)
เป็นสวิตซ์เปิด-ปิดที่ใช้ในงานไฟฟ้าทั่ว ๆ ไปแต่มี
คุณภาพที่สูงกว่าเพราะว่าเบรกเกอร์นอกจากจะทำหน้าที่เป็นสวิตซ์เปิด-ปิดวงจรไฟฟ้าแล้ว
ยังสามารถควบคุมและป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินในวงจรและการลัดวงจร
ทำงานโดยอาศัย
ความร้อนและสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อเบรกเกอร์ตัดวงจรแล้ว
มันยังสามารถใช้งานได้อีก
|
|
เบรคเกอร์ (circuit breaker
)หมายถึง อุปกรณ์ที่ทำงาน เปิดและปิดวงจรไฟฟ้า
แบบไม่อัตโนมัติ แต่สามารถเปิดวงจรได้อัตโนมัติ
ถ้ามีกระแสไหลผ่าน เกินกว่าค่าที่กำหนด เบรกเกอร์/เบรคเกอร์ก็จะทำงานทันที
โดยไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น
|
|
Circuit Breaker แรงดันต่ำ หมายถึง เบรกเกอร์ หรือเบรคเกอร์ที่ใช้กับแรงดันน้อยกว่า
1000 Volt แบ่งออกได้หลายชนิด ได้แก่
1. Molded case circuit breaker (MCCB)
2. AIR circuit breaker (ACB)
3. Miniature circuit breaker
พิกัดกระแสและผลกระทบ มีหลายกรณีประกอบด้วย
1. ผลกระทบจากความถี่
2. ผลกระทบจากอุณหภูมิ
3. ผลกระทบจากความสูงของพื้นที่
4. ผลกระทบเมื่อใช้กับไฟฟ้ากระแสตรง
พิกัดกระแสของ circuit breaker ที่ควรรู้จักมี 3
ตัวคือ |
Ampere Trip (AT)
เป็นพิกัดกระแส handle rating
ซึ่งบอกให้รู้ว่าสามารถทนกระแสใช้งานในภาวะปกติได้สูงสุดเท่าใด
มักแสดงค่าไว้ที่ name plate หรือด้ามโยกของเบรคเกอร์
ซึ่งมาตรฐานของ NEC 1990 paragraph240-6
กำหนดดังนี้ 15 , 60 , 70 , 80 , 90 , 100 , 110 ,
125 , 150 , 175 , 200 , 225 , 250 , 300 , 350 ,
400 , 450 , 600 , 700 , 800 , 1000 , 1200 , 1600
, 2000 , 2500 , 3000 , 4000 , 5000 , 6000 A.
ในกรณีที่ขนาดอุปกรณ์ของผู้ผลิตบางรายไม่มีค่าตรงกับค่าที่กำหนด
ก็สามารถเลือกใช้ค่าที่สูงขึ้นไปแทนได้
สิ่งควรรู้เพิ่มเติมก็คือ พิกัดการทนกระแส ของเบรคเกอร์
standard circuit breaker ในที่นี้หมายถึงชนิด
thermal magnetic ซึ่งถ้านำเอาเบรคเกอร์ชนิดนี้ไปใช้กับโหลดต่อเนื่อง
จะปลดวงจรที่ 80 % ของพิกัดกระแสเบรคเกอร์
100% rated circuit breaker
แบบนี้ถ้านำไปใช้กับโหลดต่อเนื่อง
จะตัดวงจรที่พิกัดกระแสของเบรคเกอร์
แต่จะมีเฉพาะสินค้าของอเมริกาเท่านั้น |
|
Ampere Frame (AF)
พิกัดกระแสโครง
ซึ่งหมายถึงพิกัดการทนกระแสสูงสุดของเบรคเกอร์ในรุ่นนั้นๆ
Ampere Frame มีประโยชน์คือ สามารถเปลี่ยนพิกัด
Ampere Trip ได้โดยที่ขนาด (มิติ) ของเบรคเกอร์ยังคงเท่าเดิม
ค่า AF ตามมาตรฐาน NEMA มีดังนี้ 50 , 100 , 225 ,
250 , 400 , 600 , 800 , 1000 , 1200 , 1600 ,
2000 , 2500 , 4000 , 5000 AF
Interrupting Capacity (IC)
เป็นพิกัดการทนกระแสลัดวงจรสูงสุดโดยปลอดภัยของเบรคเกอร์นั้นๆ
โดยปกติกำหนดค่าการทนกระแสเป็น KA. ค่า IC
จะบอกให้รู้ว่าเบรคเกอร์ที่ใช้นั้นมีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด
การเลือกค่ากระแส IC จะต้องรู้ค่ากระแสลัดวงจร ณ.
จุดนั้นๆ เสียก่อน ตามมาตรฐาน IEC947-2
แล้วสามารถแบ่งเป็น 4 ประเภทคือ
Icu |
Icm |
Icw |
Ics
|
Accessories
คืออุปกรณ์เสริมที่ใช้ติดตั้งร่วมกับเบรคเกอร์
เพื่อให้มีขีดความสามารถ ในการทำงานเพิ่มขึ้น
ที่นิยมใช้ทั่วไปประกอบด้วย
1. Shunt Trip ใช้ติดตั้งร่วมกับเบรคเกอร์เพื่อควบคุมการปลดเบรคเกอร์จากระยะไกล
เป็นการควบคุมแบบ remote
โดยไม่ต้องเดินมาปลดวงจรที่ตัวเบรคเกอร์
ซึ่งจะทำงานเมื่อ coil shunt trip
ได้รับแรงดันกระตุ้นจากระบบอื่น
2. Undervoltage Release (Undervoltage Trip)
ใช้ติดตั้งร่วมกับเบรคเกอร์เพื่อตรวจจับแรงดัน
ที่จ่ายเข้ามายังเบรคเกอร์
ถ้าต่ำกว่าที่กำหนดก็จะสั่งปลดเบรคเกอร์ทันที
ส่วนใหญ่จะใช้ร่วมกับ under/over voltage relay (
อาจใช้ร่วมกับ phase protector relay ก็ได้ )
3. Auxiliary Contact ใช้เพื่อแสดงสถานะของเบรคเกอร์ขณะนั้นว่า
ON หรือ OFF / TRIP |
4. Alarm Switch เป็นอุปกรณ์หน้าสัมผัสช่วย
ซึ่งจะเปลี่ยนสถานะเมื่อเบรคเกอร์ปลดวงจร (Trip)
5. Ground Fault Shunt Trip
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สั่งปลดวงจรเมื่อมีกระแสรั่วไหลออกจากระบบ
เกินค่าที่ตั้งไว้
6. Handle Padlock ใช้ล็อคเบรคเกอร์ให้อยู่ในตำแหน่ง
ON หรือ OFF
7. Cylinder Lock เป็นกุญแจสำหรับล็อคเบรคเกอร์ไว้ในตำแหน่ง
OFF เท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ไม่มีกุญแจมา
ON เบรคเกอร์ |
Mold case circuit breaker
|
หมายถึง breaker
ที่ถูกห่อหุ้มมิดชิดโดย mold 2 ส่วน มักทำด้วย phenolic
ซึ่งเป็นฉนวนไฟฟ้าสามารถทนแรงดันใช้งานได้ breaker
แบบนี้ มีหน้าที่หลัก 2
ประการคือทำหน้าที่เป็นสวิทซ์เปิด-ปิดด้วยมือ
และเปิดวงจรโดยอัตโนมัติ เมื่อมีกระแสไหลเกิน
หรือเกิดลัดวงจร โดย breaker จะอยู่ในภาวะ trip
ซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างตำแหน่ง ON และ OFF
เราสามารถ reset ใหม่ได้โดย กดคันโยกให้อยู่
ในตำแหน่ง OFF เสียก่อน แล้วค่อยโยกไปตำแหน่ง ON
การทำงานแบบนี้เรียกว่า quick make , quick break
ลักษณะของ breaker แบบนี้ที่พบเห็นโดยทั่วไปคือ
molded case circuit breaker
ที่พบบ่อยในท้องตลาดมี 2 ประเภทคือ Thermal
magnetic CB. และ Solid state trip CB. Thermal
magnetic molded case circuit breaker |
|
|
|